ข่าเล็ก

ชื่อสมุนไพร

ข่า (KHA)

ชื่อวิทยาศาสตร์

Alpinia galanga (L.) Willd.

ชื่อวงศ์

Zingiberaceae

ชื่อท้องถิ่นอื่นๆ

ข่าหยวก ข่าหลวง (ภาคเหนือ), สะเอเชย เสะเออเคย (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), Galangal, Greater galangal

สรรพคุณ

  • ใบ ให้รสเผ็ดร้อนใช้สำหรับแก้โรคกลากเกลื้อน แก้ปวดเมื่อยบริเวณข้อต่างๆ และช่วยในการฆ่าพยาธิ
  • ดอก ใช้สำหรับแก้โรคกลากเกลื้อน
  • ผล ช่วยแก้อาการปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน แก้บิด หรือท้องอืดท้องเฟ้อ และช่วยย่อยอาหาร
  • หน่อ แก้ลมแน่นหน้าอก
  • เหง้า ช่วยขับเลือดคาวปลา แก้อาการตกเลือด เป็นยาระบายอย่างอ่อน แก้อาการปวดท้อง หรือจุกเสียดแน่น อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยขับลม แก้พิษ แก้บิด แก้อาการฟกช้ำ บวม ลมพิษ และแก้โรคกลากเกลื้อน โดยการเอาหัวข่าแก่ๆ ล้างให้สะอาด แล้วฝานเป็นแว่นบาง ๆ หรือทุบให้แตกนำไปแช่เหล้าขาวทิ้งไว้ 1 คืน ทำความสะอาดบริเวณที่เป็นและใช้ไม้บาง ๆ ขูดให้เป็นผิวสีแดงๆ และใช้น้ำยาที่ได้มาทาบริเวณที่เป็น ทา 2 ครั้ง
  • ต้นแก่ ใช้ตำผสมกับน้ำมันมะพร้าว ช่วยในการแก้อาการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อต่าง ๆ หรือข้อ และแก้ตะคริว
  • รายงานการวิจัยทางคลินิก มีการศึกษาการรักษากลากโดยใช้ข่าเปรียบเทียบกับ tolnaftate พบว่าได้ผลที่ดีและการรักษาในผู้ป่วยโรคข้อเข่าอักเสบ พบว่ายาที่เตรียมจากส่วนผสมของสารสกัดขิงและข่าสามารถบรรเทาอาการปวดเข่า
    เมื่อยืน หรือเดินได้ แต่อาจทำให้เกิดอาการข้างเคียงในระบบทางเดินอาหารเล็กน้อย

ที่มา : 

คู่มือการกำหนดพื้นที่ส่งเสริมการปลูกสมุนไพรเพื่อใช้ในทางเภสัชกรรมไทย สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
https://ittm.dtam.moph.go.th/images/knowleaga/คมอการปลกสมนไพรทงเลม.pdf

รายงานการวิจัย เรื่อง ภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเบื้องต้นในชุมชนพื้นที่ป่าชุมชน บ้านหินฮาว อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
http://research.rmu.ac.th/rdi-mis/upload/fullreport/1630048971.pdf