ชะเอมไทย

ชื่อสมุนไพร
ชะเอมไทย
ชื่ออื่น
ชะเอมป่า(กลาง) ตาลอ้อย(ตราด) ส้มป่อยหวาน(พายัพ) อ้อยช้าง(สงขลา) นราธิวาส อ้อยสามสวน (อุบลราชธานี) กอกกั๋น ย่านงาย
ชื่อวิทยาศาสตร์
Albizia myriophylla Benth.
ชื่อวงศ์
Leguminosae- Mimosaceae
สรรพคุณ
- ตำรายาไทย ใช้ เนื้อไม้ มีรสหวาน แก้โรคในลำคอ แก้ลม แก้เลือดออกตามไรฟัน บำรุงธาตุและบำรุงกำลัง บำรุงกล้ามเนื้อให้เจริญ แก้ไอ ขับเสมหะ แก้น้ำลายเหนียว
- ต้น รสหวานเอียน ถ่ายลม แก้โรคในคอ ทำผิวหนังให้สดชื่น แก้โรคตา
- ราก มีรสหวาน ทำให้ชุ่มคอ แก้กระหายน้ำ และเป็นยาระบาย มีสรรพคุณแก้ไอ ขับเสมหะ แก้เจ็บคอ แก้โลหิตอันเน่าในอุทร และเจริญซึ่งหทัยวาตะให้สดชื่น แก้กำเดาให้เป็นปกติ
- ใบ รสร้อนเฝื่อน ขับโลหิตระดู
- ดอก รสขมร้อน ช่วยย่อยอาหาร ทำเสมหะให้งวด แก้ดี และโลหิต
- ผล ขับเสมหะ
- ตำรายาไทย: ปรากฏ “พิกัดทศกุลาผล” คือการจำกัดจำนวนตัวยาตระกูลเดียวกัน 10 อย่าง มีชะเอมทั้ง 2 (ชะเอมไทย ชะเอมเทศ) ลูกผักชีทั้ง 2 (ผักชีล้อม ผักชีลา) อบเชยทั้ง 2 (อบเชยไทย อบเชยเทศ) ลำพันทั้ง 2 (ลำพันแดง ลำพันขาว) ลูกเร่วทั้ง 2 (เร่วน้อย เร่วใหญ่) มีสรรพคุณ แก้ไข้เพื่อดีและเสมหะ ขับลมในลำไส้ บำรุงธาตุ บำรุงปอด แก้รัตตะปิตตะโรค แก้ลมอัมพฤกษ์ อัมพาต บำรุงกำลัง บำรุงดวงจิตให้แช่มชื่น แก้ไข้
ที่มา :
ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
https://apps.phar.ubu.ac.th/phargarden/main.php?action=viewpage&pid=41