เถาเมื่อยแดง

ชื่อสมุนไพร

เมื่อยแดง

ชื่อวิทยาศาสตร์

Gnetum macrostachyum

ชื่อวงศ์

GNETACEAE

ชื่ออื่น

เมื่อย ม่วย (นครราชสีมา ตราด) เมื่อยเลือด (หนองคาย) ม่วยแดง (อุบลราชธานี) กำแพงเพชรเจ็ดชั้น (กระบี่)

สรรพคุณ

  • ตำรายาไทย: ใช้ เถา รสขื่นเฝื่อน แก้เมื่อย ทำให้เส้นเอ็นหย่อน ทำให้จิตใจชุ่มชื่น ทำให้แข็งแรง
  • ยาพื้นบ้านอีสาน: ใช้ ลำต้น ดองเหล้าดื่ม แก้ปวดเมื่อย ผสมแก่นกัดลิ้น ลำต้นขมิ้นเครือ และลำต้นพรมคตต้มน้ำดื่ม แก้อัมพฤกษ์ อัมพาต
  • ยาพื้นบ้านภาคใต้: ใช้ ลำต้น ผสมลำต้นตีนเป็ดน้ำ หรือรากหมากหมก ลำต้นเถาเอ็นอ่อน และแก่นกันเกรา ต้มน้ำดื่ม บำรุงเส้นเอ็น ผสมสมุนไพรอื่น แช่เหล้าดื่ม บำรุงกำลัง ผสมสมุนไพรอื่น ต้มน้ำดื่ม บำรุงโลหิตสตรี

ที่มา : 

ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
https://apps.phar.ubu.ac.th/thaicrudedrug/main.php?action=viewpage&pid=110