ย่านควายถึก ( กำลังควายถึก )

ชื่อสมุนไพร
ย่านควายถึก ( กำลังควายถึก )
ชื่อท้องถิ่น
เครือเดา เดาน้ำ สะเดา (เชียงใหม่), ก้ามกุ้ง (อุตรดิตถ์), เขืองปล้องสั้น (นครราชสีมา), เขือง (ภาคอีสาน), เขืองแดง เขืองสยาม (ภาคกลาง), พอกะอ่ะ (กะเหรี่ยงเชียงใหม่), หนามป๋าวหลวง (ไทใหญ่) เป็นต้น
ชื่อวิทยาศาสตร์
Smilax perfoliata Lour.
ชื่อวงศ์
SMILACACEAE
สรรพคุณ
- เปลือกใช้เป็นยาบำรุงกำลัง ยาบำรุงโลหิต ทำให้ธาตุสมบูรณ์ แก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย
- รากเหง้าใช้ปรุงเป็นยาแก้ต่อมน้ำเหลืองภายใน ขับต่อมน้ำในร่างกาย ยาแก้ฝีภายใน
- เถาและหัวใช้เป็นยาบำรุงกำลัง ยาบำรุงกำหนัด ใช้เป็นยาขับโลหิต
- น้ำจากยอดที่หักใช้หยดลงบริเวณที่เป็นหูด โดยให้ทำประมาณ 7 วัน หูดจะหาย
ที่มา :
หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคกลาง. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ, ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, กัญจนา ดีวิเศษ). “เขือง”. หน้า 82.
ข้อมูลพรรณไม้, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “กําลังควายถึก”. อ้างอิงใน : หนังสืออนุกรมวิธานพืช อักษร ก. (ราชบัณฑิตยสถาน). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.rspg.or.th/plants_data/. [26 ม.ค. 2015].
โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “กำลังควายถึก, เครือเดา”. อ้างอิงใน : หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : eherb.hrdi.or.th. [26 ม.ค. 2015].
สมุนไพร ภูมิปัญญาไทย, เทศบาลเมืองทุ่งสง อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช. “กําลังควายถึก”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.tungsong.com. [26 ม.ค. 2015].
พันธุ์ไม้ในท้องถิ่น อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช. “กำลังควายถึก”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : taqservices.net. [26 ม.ค. 2015].