กระตังบาย/กระตังใบ

ชื่อสมุนไพร
กะตังใบ
ชื่ออื่นๆ
ต้างไก่ (อุบลราชธานี) คะนางใบ(ตราด)กระตังบาย กระตังใบ เขือ เขืองแข้งม้า กะลังใบ ตองจ้วม ตองต้อม (เหนือ) บังบายต้น(ตรัง) ช้างเขิง ดังหวาย (นราธิวาส) เรือง บังบาย(กระบี่)
ชื่อวิทยาศาสตร์
Leea indica (Burm.f.) Merr.
ชื่อวงศ์
Leeaceae
สรรพคุณ
- ตำรายาไทย ใช้ ราก รสเย็นเมาเบื่อ ต้มน้ำกินเป็นยาแก้ปวดท้อง ท้องเสีย แก้บิด ขับเหงื่อ และเป็นยาเย็น แก้อาการกระหายน้ำ แก้ไข้ แก้ไข้รากสาด แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย แก้ครั่นเนื้อครั่นตัว ดับร้อน นำรากผสมกับสมุนไพรอื่น ต้มน้ำดื่ม วันละ 3 ครั้ง จนยาหมดรสฝาด แก้ตกขาว มะเร็งลำไส้ มะเร็งมดลูก
- ผล ผลกะตังใบขยี้ที่หูด หูดจะหลุดหายไปใบ รักษาแผลจากของมีคมบาด ใช้ยอดกะตังใบ ขยี้กับปูนกินกับหมาก ทำแผลที่ถูกของมีคมบาด
- ใบ รักษาแผลจากของมีคมบาด ใช้ยอดกะตังใบ ขยี้กับปูนกินกับหมาก ทำแผลที่ถูกของมีคมบาด
- ใบ ย่างไฟให้เกรียม ใช้พอกศีรษะ แก้วิงเวียน มึนงง ตำเป็นยาพอกแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และแก้ผื่นคันตามผิวหนัง
- น้ำยาง จากใบอ่อนกินเป็นยาช่วยย่อย ทั้งต้น ผสมกับสมุนไพรอื่น ต้มน้ำดื่ม รักษามะเร็งเต้านม
การใช้ประโยชน์
ทางอาหาร ยอดอ่อน ดอกผลอ่อน รสฝาดมัน รับประทานเป็นผักสด
ที่มา :
ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
https://apps.phar.ubu.ac.th/phargarden/main.php?action=viewpage&pid=1
หนังสือผักพื้นบ้านภาคใต้ สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข .2542.พิมพ์ที่โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก กรุงเทพฯ.
หนังสือ “สมุนไพรในพื้นที่พรุจังหวัดนราธิวาส สนับสนุนทุนวิจัยโดย สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการพิเศษ เพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจาก พระราชดำริ (กปร.) ปี 2548
https://forprod.forest.go.th/forprod/chemistry/pdf/1.69.pdf