กระท่อมป่า กระท่อมขี้หนู

ชื่อสมุนไพร
กระทุ่มนา
ชื่อวิทยาศาสตร์
Mitragyna diversifolia (Wall. ex G.Don) Havil
ชื่อพ้อง
Mitragyna diversifolia var. microphylla (Kurz) Craib
ชื่อพื้นเมือง
กระท่อมขี้หมู (ภาคเหนือ), กระทุ่มดง (กาญจนบุรี), กระทุ่มนา กระทุ่มน้ำ(ภาคกลาง), กาตูม (เขมร-ปราจีนบุรี), ตำ (เขมร-สุรินทร์), ตุ้มแซะ ตุ้มน้อย ตุ้มน้ำ (ภาคเหนือ), ถ่มพาย (เลย), ท่อมขี้หมู (สงขลา), ท่อมนา (สุราษฎร์ธานี), โทมน้อย (เพชรบูรณ์)
ชื่อวงศ์
Rubiaceae
สรรพคุณ
- ใบมีรสขมเฝื่อนเมา แก้ท้องร่วง แก้บิดมูกเลือด แก้ปวดมวนท้อง ช่วยลดความดันโลหิตและออกฤทธิ์กดต่อประสาทและกล้ามเนื้อ พบปรากฏการใช้ประโยชน์ในพระคัมภีร์ปฐมจินดา (ยาชื่อมหาชุมนุมใหญ่สันนิบาต) ศิลาจารึกวัดโพธิ์ และตำรับยาหมอพื้นบ้าน
- ใบของกระทุ่มนามีรสขมเฝื่อนเมา ใช้แก้ท้องร่วง แก้บิดมูกเลือดปวดมวนท้อง ช่วยลดความดันโลหิตและออกฤทธิ์กดต่อระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ส่วนยาแผนโบราณของไทยใช้ใบกระทุ่มนาแทนใบกระท่อมสำหรับบำบัดโรคท้องร่วง แก้ปวดมวนท้อง โดยมีฤทธิ์เหมือนใบกระท่อมแต่อ่อนกว่า และสามารถนำมาใช้แทนกันได้ ใบใช้ผสมกับใบโพธิ์ขี้นก เพื่อใช้ลดอาการบวมน้ำที่เกิดจากโรคไต
- ส่วนเปลือกต้น รสฝาดร้อน รักษาโรคผิวหนังทุกชนิด แก้มะเร็ง คุดทะราด แก้บิดมูกเลือด
ที่มา :
การศึกษาวิจัยสมุนไพร กระทุ่มนา เพื่อประเมินคุณค่าและความสำคัญประกอบการพิจารณาในการประกาศให้เป็นสมุนไพรควบคุมตามพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย โดย ศาสตราภิชาน ดร. ภก. นิจศิริ เรืองรังสี ดร. ชัยศักดิ์ จันศรีนิยม นาย นิรันดร์ วิพันธุ์เงิน
https://abdul.dtam.moph.go.th/thaiherbs/herb_pdf/0118.pdf