ยับเยี่ยว (เล็บเหยี่ยว)

ชื่อสมุนไพร
เล็บเหยี่ยว
ชื่ออื่น
หมากหนาม หนามเล็บเหยี่ยว มะตันขอ (ภาคเหนือ) ยับยิ้ว (ภาคใต้) พุทราขอ เล็ดเหยี่ยว เล็บเหยี่ยว (ภาคกลาง) แสงคำ (นครศรีธรรมราช) สั่งคัน (สุราษฎร์ธานี ระนอง) ตาฉู่แม โลชูมี (เชียงใหม่) เล็บแมว ยับเยี่ยว (นครราชสีมา)
ชื่อวิทยาศาสตร์
Ziziphus oenopolia (L.) Mill.
ชื่อวงศ์
Rhamnaceae
สรรพคุณ
- ตำรายาไทย ราก เปลือกต้น รสจืดเฝื่อนเล็กน้อย ต้มดื่มเป็นยาขับระดูขาว ขับปัสสาวะ แก้มดลูกพิการ แก้ฝีมุตกิด แก้ฝีในมดลูก และแก้โรคเบาหวาน ผล รสเปรี้ยวหวาน ฝาดเย็น แก้เสมหะ แก้ไอ ทำให้ชุ่มคอ ผลสุกรับประทานได้ มีรสเปรี้ยวอมหวาน เป็นยาระบาย
- ประเทศอินเดีย ราก ใช้ขับพยาธิตัวกลม ช่วยย่อย ฆ่าเชื้อ รักษาภาวะกรดเกิน ปวดท้องจากโรคกระเพาะอาหาร สมานแผล
ที่มา :
ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
https://apps.phar.ubu.ac.th/phargarden/main.php?action=viewpage&pid=279