โบราณสถานตุมปัง หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า วัดตุมปัง (ร้าง) คำว่า “ตุมปัง” มีสำเนียงคล้ายกับภาษายาวีว่า “ตุมปัส” ซึ่งแปลว่า “ที่อยู่” โบราณสถานแห่งนี้ได้รับขุดค้นขุดแต่งทางโบราณคดีเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๕ – ๒๕๔๖ พบอาคารโบราณสถานก่ออิฐ จำนวน ๔ หลัง ล้อมรอบด้วยแนวกำแพงแก้ว มีซุ้มประตูทางเข้าอยู่ด้านทิศตะวันออก ถัดออกมามีสระน้ำรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า จำนวน ๒ สระ ตั้งขนาบแนวทางเดินเข้าสู่โบราณสถาน บริเวณอาคารโบราณสถานหมายเลข ๑ พบชิ้นส่วนประติมากรรมรูปเคารพสลักจากหินทราย ส่วนลำตัวกับส่วนแขน ส่วนเศียรพบบริเวณอาคารโบราณสถานหมายเลข ๓ ชิ้นส่วนทั้งหมดสามารถต่อเข้ากันได้พอดี สันนิษฐานว่า เป็นรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ซึ่งทำให้ทราบว่าศาสนสถานแห่งนี้เป็นศาสนสถานในศาสนาพุทธนิกายมหายาน ปัจจุบันรูปเคารพนี้ จัดแสดงอยู่ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช โบราณวัตถุที่ขุดพบ ได้แก่ เครื่องถ้วยจีน และเครื่องถ้วยจากแหล่งเตา ศรีสัชนาลัย

โบราณสถานหมายเลข 1
โบราณสถานหมายเลข 2
โบราณสถานหมายเลข 3
โบราณสถานหมายเลข 4

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Ut elit tellus, luctus nec ullamcorper mattis, pulvinar dapibus leo.